วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 6 การแยกสาร
เรื่อง การตกผลึก จำนวน 2 คาบ / สัปดาห์ สอนครั้งที่ …..
วันที่ .............................พ.ศ.2552 จำนวนนักเรียน 45 คน /ห้อง
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
ผู้สอน นางสาวปวีณา รอดเจริญ ค.บ.4 วิทยาศาสตร์
_____________________________________________________________________________________
มาตรฐานการเรียนรู้ ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ
การตกผลึก คือ เป็นการตัวทำละลายที่เป็นของแข็งออกจากสารละลาย โดยอาศัยความสามารถในการละลายของสารต่างชนิดกันในตัวทำละลายชนิดเดียวกันจะแตกต่างกันด้วย
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอธิบายหลักการแยกสารโดยวิธีการตกผลึกได้ถูกต้อง
จุดประสงค์นำทาง
1.นักเรียนทำการทดลองการตกผลึกได้ถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
การตกผลึก
1.การตกผลึก
กระบวนการเรียนรู้
1.ขั้นทำการทดลองการตกผลึก
1.1 จัดแบ่งนักเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม ตามกติกาการนับ 1-9 โดยให้นักเรียนนับจากใบรายชื่อนักเรียนครบทุกคน ( ใช้ใบรายชื่อเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่ม )
1.2 นำเสนอสื่อเนื้อหาบนกระดานและรูปภาพของผลึก แล้วตั้งคำถามจำนวน 2 คำถาม
นักเรียนทราบไหมว่าการตกผลึกคืออะไร
นักเรียนทราบไหมว่ารูปภาพที่ครูให้ดูเป็นผลึกแบบใด อธิบาย
1.3 อธิบายเนื้อหาเรื่องการตกผลึกบนกระดานและมอบหมายให้นักเรียนเขียนการทดลองชุดกิจกรรมที่ 6.2ลงสมุดของนักเรียนทุกคน

2.การตกผลึก (Crystallization) การตกผลึก คือ การแยกของผสมที่เป็นของแข็งที่มีสมบัติการละลายในตัวทำละลายต่างกันและได้ ไม่เท่ากันทุกอุณหภูมิ มีหลักการ คือ เมื่อนำของผสมละลายในตัวทำละลายต้มสารละลายนั้นจนละลายหมด แล้วทิ้งให้อุณหภูมิลดลง สารที่ละลายน้อยกว่าจะอิ่มตัวแล้วตกผลึกแยกออกมาก่อน เช่น น้ำตาลกับเกลือซิลเวอร์ไนเตรตกับโพแทสเซียมไนเตรต การแยกเกลือโซเดียมคลอไรด์ออกจากน้ำทะเล
รูปแสดงตัวอย่างผลึกบางชนิด
1.4 ปฏิบัติภาระงานตามการทดลองชุดกิจกรรมที่ 6.2โดยให้ทำเป็นกลุ่ม จำนวน 9 กลุ่ม
ใบกิจกรรมที่ 6.2 การตกผลึก
จุดประสงค์ เพื่ออธิบายหลักการแยกสารโดยวิธีการตกผลึกได้
สาร
1.น้ำร้อน
2.ของผสมจุนสี
3.เกลือแกง
อุปกรณ์การทดลอง
1.แท่งแก้วคนสาร
2.บีกเกอร์
3.ช้อนเบอร์ 2
วิธีการทดลอง
1.รินน้ำร้อน 25 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2.ใส่ของผสมซึ่งมีจุนสี 10 ช้อนเบอร์ 2 และเกลือแกง 1 ช้อนเบอร์ 2 ลงในน้ำร้อนใช้แท่งแก้วคนให้ละลาย สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
3.รินสารละลายอิ่มตัวที่ได้ในข้อ 2 ลงในบีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็นลง สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
ตารางบันทึกผลการทดลอง
การทดลอง
การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้
1.นำของผสมระหว่างจุนสีกับเกลือแกงไป
ละลายในน้ำร้อน
2.รินสารละลายอิ่มตัวลงในบีกเกอร์
แล้วตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
สรุปผลการทดลอง
.............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................

1.5 บูรณาการโดยให้ตัวแทนแต่ละกลุ่ม 1 คนไปศึกษาผลการทดลองของกลุ่มเพื่อนๆทั้ง 9 กลุ่ม แล้วบันทึกลงสมุดของตนเอง พร้อมมาชี้แจงให้เพื่อนภายในกลุ่มเข้าใจตรงกัน
1.6 นำเสนอผลงานโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานหน้าห้องเรียนจาก การทดลองชุดกิจกรรมที่ 6.1
1.7 ประเมินผลสรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1.กิจกรรมทำการทดลองการตกผลึก
1.1.ใบรายชื่อนักเรียน (ม.1/2, ม.1/4, ม.1/9)
1.2.เนื้อหาเรื่อง ทำการทดลองการตกผลึก, คำถามจำนวน 2 คำถาม
1.3.เนื้อหาเรื่อง ทำการทดลองการตกผลึก
1.4.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1, สมุดจดบันทึก
1.5.ครูและกลุ่มนักเรียน
1.6.บัตรกำหนดเวลา
1.7.ประเมินผลสรุป
การวัดและประเมินผล
การวัดผล
1.วัดผลการทำการทดลองการตกผลึก ด้วยการตรวจผลการสรุปตามสมุดจดบันทึก โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1.ประเมินผลการทำการทดลองการตกผลึกพบว่า นักเรียน ............... คน ทำการทดลองการตกผลึกไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้ศึกษาเรื่อง การตกผลึกเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
บันทึกหลังการสอน
ผลการสอน
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ปัญหา / อุปสรรค
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ ....................................................ครูผู้สอน
(นางสาวปวีณา รอดเจริญ)

1 ความคิดเห็น:

  1. The Tribute to The Tribute to the Tribute to the Tribute to the Tribute to the
    Tribute to sia titanium the Tribute to the Tribute to the Tribute to the properties of titanium Tribute to the Tribute to the Tribute to the Tribute titanium cookware to the Tribute to the Tribute to rocket league titanium white the Tribute to the titanium sunglasses Tribute to the

    ตอบลบ